การเลือกยี่ห้อรากฟันเทียมเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำรากฟันเทียม ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยฟื้นฟูการกัดและการเคี้ยวอาหารให้กลับมาเป็นปกติเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความมั่นใจและคุณภาพชีวิตในระยะยาวด้วย การเลือกยี่ห้อรากฟันเทียมที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในบทความนี้จะนำเสนอหลักการเลือกที่ถูกต้องและปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกยี่ห้อรากฟันเทียม เพื่อให้คนไข้สามารถทำการตัดสินใจได้ดีที่สุดสำหรับสุขภาพของคนไข้เอง ไม่ว่าจะเป็นความทนทาน เทคโนโลยี ความมั่นคงของบริษัท หรือการรับรองคุณภาพ การเข้าใจถึงหลักการเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเลือกรากฟันเทียมที่เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของคนไข้ได้
ยี่ห้อของรากฟันเทียม
ยี่ห้อของรากฟันเทียมที่นิยมในประเทศไทยมีดังนี้
1. รากฟันเทียมยี่ห้อ Straumann
ก่อตั้งในปี 1954 มีต้นกำเนิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในรากฟันเทียมชั้นนำของโลก มีคุณภาพสูงและเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้รับความไว้วางใจจากทันตแพทย์ทั่วโลกมาอย่างยาวนาน ผลิตทั้งรากฟันเทียม วัสดุเนื้อเยื้อสังเคราะห์ และอุปกรณ์เฉพาะต่างๆ ที่ใช้ในงานปลูกฝังรากฟันเทียม
reference: straumann.com
2. รากฟันเทียมยี่ห้อ Osstem
มีต้นกำเนิดในประเทศเกาหลีใต้ ก่อตั้งในปี 1997 มีชื่อเสียงด้านการผลิตรากฟันเทียมที่ได้มาตรฐานในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรากฟันเทียมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ผลิตภัณฑ์ออกแบบมาเพื่อความสะดวกในการใช้งานและมีความน่าเชื่อถือสูง มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อความแม่นยำและความทนทาน
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยี แทบจะใกล้เคียงฝั่ง ยุโรป อเมริกา นอกจากนั้นยังพบว่าทันตแพทย์จากฝั่งยุโรป อเมริกา ก็เลือกใช้ รากฟันเทียมที่ผลิตจากเอเชียเช่นกัน
reference: osstem.com
3. รากฟันเทียมยี่ห้อ Neo Biotech
มีต้นกำเนิดในประเทศเกาหลีใต้ ก่อตั้งในปี 2000 มีราคาที่เข้าถึงได้ง่ายเช่นเดียวกันกับยี่ห้อ Osstem มีเครือข่ายอยู่ในกว่า 70 ประเทศทั่วโลกผ่านบริษัทสาขาในเครือและผู้จัดจำหน่าย การออกแบบของ Neo Biotech เน้นความเรียบง่ายในการใช้งานและเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะกระดูก
reference: neobiotech.com
4. รากฟันเทียมยี่ห้อ Alpha Bio
ก่อตั้งในปี 1988 ในประเทศอิสราเอล บริษัทตั้งเป้าให้ทันตแพทย์มีขั้นตอนการทำงานที่สะดวก เรียบง่าย และมีรากฟันเทียมที่มีคุณภาพและใช้งานง่าย เพื่อให้กระบวนการทางทันตกรรมประสบความสำเร็จและฟื้นฟูรอยยิ้มของคนไข้
reference: alpha-bio.net
5. รากฟันเทียมยี่ห้อ MIS7
ก่อตั้งในปี 1995 ในประเทศอิสราเอลเช่นเดียวกัน บริษัทมีเป้าหมายที่จะทำให้โลกของทันตกรรมรากเทียมง่ายขึ้นสำหรับทันตแพทย์ทั่วโลก ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการมีแรงผลักดันจากความต้องการทำให้การติดตั้งรากฟันเทียมง่ายขึ้นสำหรับทันตแพทย์
reference: mis-implants.com
หลักในการเลือกรากฟันเทียม
การเลือกรากฟันเทียมเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตของคนไข้โดยตรง รากฟันเทียมที่ดีจะช่วยให้การบดเคี้ยวของคนไข้กลับมาปกติ และช่วยให้รูปลักษณ์และรอยยิ้มของคนไข้ดูดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้ยี่ห้อรากฟันเทียมจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลายๆ ปัจจัย ดังต่อไปนี้:
1. ความมีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัททำรากฟันเทียม
ความมีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ผลิตรากฟันเทียมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบ่งบอกถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้ ยี่ห้อที่คนไข้เลือกควรผ่านการรับรองมาตรฐานจากองค์การสาธารณสุขระดับโลก และมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2. การวิจัยและผลการใช้งาน
ยี่ห้อรากฟันเทียมนั้นมีงานวิจัยทางคลินิกหรือไม่ และมีอัตราความสำเร็จในการใช้งานเป็นอย่างไร ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานมีอะไรบ้าง สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายหรือไม่
3. ความมั่นคงทางธุรกิจ
ความมั่นคงของบริษัทผู้ผลิต มีความสำคัญมาก เพราะรากฟันเทียมต้องอยู่กับเราในระดับ 10 ปีขึ้นไป บางยี่ห้อที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจในประเทศไทยเราก็จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
หลังการทำรากฟันเทียมเสร็จ วันนี้อาจไม่มีปัญหา แต่ในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า หากรากฟันเทียมที่เราใช้มีปัญหา จำเป็นต้องมีอะไหล่ทดแทนดังนั้นความมั่นคงทางธุรกิจจึงสำคัญมาก
4. วัสดุและเทคโนโลยี
ปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 90 วัสดุของรากฟันเทียมที่ใช้จะเป็นไทเทเนียมอัลลอยด์ ซึ่งมีความแข็งแรงสูงและร่างกายยอมรับได้ดี (Biocompatibility)
อีกวัสดุที่กำลังเป็นที่นิยมคือ เซอร์โคเนีย ซึ่งมีความแข็งแรงและมีสีเหมือนฟันจริงก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่แพ้โลหะ
5. ความเหมาะสมกับสภาพกระดูกขากรรไกร
สภาพของกระดูกขากรรไกรแต่ละเคสนั้นไม่เหมือนกัน จึงต้องเลือกรากฟันเทียมให้เหมาะสมกับลักษณะต่างๆ ของคนไข้ เช่น รูปทรงกระบอก, รูปทรงกรวย, พื้นผิวเรียบ, พื้นผิวขรุขระ, รูปแบบที่เหมาะสมกับความหนาแน่นของกระดูกและแรงกัดเคี้ยวของคนไข้ เป็นต้น
นอกจากนั้นอาจมีบางกรณีที่ต้องเลือกตามระยะเวลาการรักษาและวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์ของคนไข้ด้วย เช่น หากคนไข้ต้องการรับการรักษาแบบ All on four การเลือกรากฟันเทียมที่ผลิตมาเพื่อการรักษาแบบ All on four โดยเฉพาะก็จะเหมาะสมกว่า เป็นต้น
6. ความถนัดของทันตแพทย์
ความถนัดและประสบการณ์ของทันตแพทย์เป็นอีกข้อที่สำคัญมาก ทันตแพทย์มักถนัด ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งหรือรุ่นใดรุ่นหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะได้ทำรากฟันเทียมโดยใช้ยี่ห้อนั้นรุ่นนั้นมาหลายเคส จึงสามารถกะระยะการเจาะ, องศา รวมถึงเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ของการทำรากฟันเทียมได้แม่นยำกับรุ่นนั้นเป็นพิเศษ
7. งบประมาณ
การพิจารณาตามงบประมาณที่มี และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อหายี่ห้อที่ให้คุณภาพดีและราคาที่คนไข้จ่ายไหว
ราคารากฟันเทียมแต่ละยี่ห้อ
ยี่ห้อ | ราคา (บาท) |
รากฟันเทียม เกาหลี ( Dental Implant made in Korea ) Osstem , Neo Biotech. | 38,000 |
รากฟันเทียม ยี่ห้อ Alpha Bio , MIS7 ( Alpha Bio , MIS7 Dental Implant ) | 50,000 |
รากฟันเทียม ยี่ห้อ Straumann (Straumann Dental Implant ) | 75,000 |
รากฟันเทียมเซรามิก ( Ceramic Dental Implant ) | 75,000 |
การเลือกยี่ห้อรากฟันเทียมควรเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างคนไข้และทันตแพทย์ โดยพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและคุ้มค่ากับการลงทุน
8. มีการรับประกัน
รากฟันเทียมที่เลือกควรมีการรับประกันการทำรากฟันเทียมด้วย เพื่อความมั่นใจในกรณีเกิดปัญหา โดยพิจารณาจากเงื่อนไขการรับประกัน และระยะเวลาการรับประกัน
การรับประกันรากฟันเทียมของ MOS Dental Clinic มีดังนี้:
รากฟันเทียม หลวม, หลุด, บิ่น, แตก ดูแลซ่อมแซมฟรีภายใน 1 ปี และปีที่ 2-3 คิดค่าวัสดุ ค่าแรงไม่เกิน 50% ของราคาปกติ
การเลือกรากฟันเทียมในทางปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติแล้วคนไข้มักไม่ได้สามารถหาข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ของรากฟันเทียมมาอ่านเอาเองได้ง่ายนัก และรายละเอียดปลีกย่อยสำหรับแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นมีเยอะมาก จึงขอแนะนำว่าให้เลือกด้วยปัจจัยต่อไปนี้จะสะดวกกว่า
- เลือกจากงบประมาณที่มีก่อน เมื่อมีงบประมาณในใจว่าจ่ายไหวแค่ไหนแล้ว ก็จะสามารถเลือกยี่ห้อได้ง่ายขึ้น เพราะอันที่จริงแต่ละยี่ห้อที่คลินิกชั้นนำเลือกมา จะเลือกจากยี่ห้อที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากลอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อบริษัทมีชื่อเสียง สิ่งที่จะตามมาคือ
- ปลอดภัย ใช้งานได้จริง มีงานวิจัยรองรับผลิตภัณฑ์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- บริษัทมีความมั่นคง อยู่ในอุตสาหกรรมมานาน และควรจะอยู่ต่อไปอีกนานโดยบริษัทไม่ล้มละลาย เพราะการทำรากฟันเทียมแต่ละครั้งอยู่ได้เป็นหลักสิบปี ในอนาคตหากรากฟันเทียมมีปัญหา จะต้องมีอะไหล่เปลี่ยน หากบริษัทล้มละลายหายไปจากตลาด คนไข้จะต้องเสียเงินทำใหม่อีกรอบ เจ็บตัวอีกรอบ
- รากฟันเทียมเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง หากคนไข้บังเอิญอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทันตแพทย์บริเวณนั้นควรรู้จักรากฟันเทียมที่คนไข้ใช้ เพื่อให้อย่างน้อยสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไปก่อนได้ ไม่ควรใช้ยี่ห้อที่มีแต่ทันตแพทย์เมืองไทยรู้จัก
- ภายใต้งบประมาณที่เรามีจากข้อแรก ให้ถามทันตแพทย์ว่า มียี่ห้ออะไรบ้าง ยี่ห้อไหนรุ่นไหนเหมาะสมกับเคสของคนไข้ เพื่อให้ได้รากฟันเทียมที่คนไข้จ่ายไหว และไม่มีปัญหาในอนาคต หรือต่อให้มีปัญหาก็จะสามารถหาอะไหล่มาซ่อมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้