วิธีการดูแลรากฟันเทียม ให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน

การดูแลรักษารากฟันเทียมเป็นส่วนสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามหลังจากการฝังรากฟันเทียมลงในช่องปาก รากฟันเทียมถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป ให้ความรู้สึก รูปลักษณ์ และการทำงานที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด การดูแลรักษาอย่างถูกวิธีจะทำให้รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

วิธีการดูแลรักษารากฟันเทียม

ทันตแพทย์สาธิตวิธีดูแลรากฟันเทียม

วิธีการดูแลรักษารากฟันเทียมมีจุดประสงค์เพื่อให้รากฟันเทียมสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานที่สุด อายุการใช้งานของรากฟันเทียมขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาเป็นหลัก ยิ่งดูแลรักษาได้ดี ก็จะใช้งานได้นานขึ้น หากดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง รากฟันเทียมสามารถอยู่ได้ยาวนานถึง 10-20 ปี หรือมากกว่านั้น

วิธีดูแลรักษารากฟันเทียมคล้ายกับดูแลรักษาฟันตามธรรมชาติ คือ

  1. แปรงฟันให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 2 นาที พร้อมกับใช้ไหมขัดฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หากเป็นการทำรากฟันเทียมเพื่อทำสะพานฟันให้ใช้ไหมขัดฟันพิเศษ (Super floss) เพื่อทำความสะอาดด้านล่างฟันปลอมกับเหงือกในบริเวณที่ไหมขัดฟันธรรมดาเข้าไม่ถึง
  2. ไม่เคี้ยวของที่แข็งมากๆ หรือเหนียวมากๆ เกินไปเพราะอาจทำให้รากฟันเทียมแตกหรือครอบฟันหลุดได้
  3. หากทำรากฟันเทียมที่ฟันหน้า ให้หลีกเลี่ยงการกัดที่ฟันหน้า เนื่องจากตำแหน่งของรากฟันเทียมที่ฟันหน้าจะเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้เหมาะสมกับการกัดหรือรับแรงกัด ควรหลีกเลี่ยงเพื่อยืดอายุการใช้งาน
  4. ต้องเข้ามาตรวจเช็คสภาพของรากฟันเทียมอย่างเป็นประจำทุก 6 เดือน เพราะรากฟันเทียมประกอบด้วย 3 ส่วน หากส่วนใดส่วนหนึ่งเริ่มมีปัญหาจะได้แก้ไขให้เร็วที่สุด โอกาสที่จะสูญเสียมากขึ้นก็จะน้อยลง
  5. เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่ารากฟันเทียมใช้กัดเคี้ยวได้ไม่เหมือนเดิม ไม่ว่าจะมีการขยับของครอบฟัน หรือมีความรู้สึกว่าฟันสบไม่เหมือนเดิม แนะนำให้รีบกลับมาตรวจเช็คเพื่อแก้ไขปัญหาล่วงหน้า

ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออายุรากฟันเทียม

  1. การใช้งานรากฟันเทียม – หลีกเลี่ยงการใช้งานรากฟันเทียมอย่างหนัก เช่น การเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งหรือเหนียวมากๆ อย่างต่อเนื่อง สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้กับรากฟันเทียมเกิดความเสียหายได้ การรับประทานอาหารที่มีความแข็งน้อยลง เหนียวน้อยลง และการใช้งานอย่างระมัดระวังสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของรากฟันเทียมได้
  2. การดูแลรักษาความสะอาด – การไม่ทำความสะอาดรากฟันเทียมและฟันแท้รอบๆ อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอสามารถนำไปสู่การสะสมของคราบพลัคและการเกิดโรคเหงือก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อรากฟันเทียมได้ การแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก สามารถช่วยรักษาสุขภาพของฟันและเหงือกได้
  3. การเข้าตรวจรากฟันเทียมทุก 6 เดือน – การไม่ได้เข้ารับการตรวจรากฟันเทียมทุก 6 เดือนอาจทำให้ปัญหาเล็กๆ ที่เกิดขึ้นกับรากฟันเทียมของคนไข้ไม่ได้รับการแก้ไข จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ การตรวจรากฟันเทียมเป็นประจำจึงสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของรากฟันเทียมได้

การตรวจเช็คทุก 6 เดือนนั้นมักใช้เวลาไม่นาน ส่วนมากใช้เวลาในการตรวจรากฟันเทียมแค่ 5-10 นาที ทำให้คนไข้บางคนไม่อยากมา แต่ความจริงก็คือการตรวจใช้เวลาน้อยเพราะรากฟันเทียมของคนไข้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

แต่หากรากฟันเทียมมีปัญหาก็จะใช้เวลานานขึ้น

สิ่งที่จะได้รับการตรวจคือ

  1. ตรวจความสะอาด และโรคต่างๆ เพื่อดูว่ารากฟันเทียมนั้นจะต้องไม่ผุ ไม่มีร่องรอยโรคเหงือก
  2. ตรวจการสบฟัน ดูว่าฟันเคลื่อนหรือไม่ แรงกัดกระจายตัวอย่างเหมาะสมหรือไม่
  3. X-ray ทุก 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อดูระดับกระดูก ว่ามีกระดูกละลายหรือไม่ หากมีภาวะกระดูกละลายจะมีผลต่อการรับแรงของรากฟันเทียม

การเข้ารับการตรวจรากฟันเทียมเหล่านี้ทำเพื่อให้เจอปัญหาได้ไวและเพื่อให้เจอปัญหาในช่วงแรกเริ่ม เพื่อที่จะรักษาให้ได้ไวที่สุด เพื่อยืดอายุของรากฟันเทียม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมาตรวจเป็นประจำทุก 6 เดือน

การทำรากฟันเทียมจะประสบความสำเร็จได้เกิดจากหมอและคนไข้ร่วมมือกันดูแล รากฟันเทียมจึงจะมีอายุการใช้งานได้นานที่สุด

ความเสียหายที่มักเกิดกับรากฟันเทียม

รากฟันเทียมมักเสียหายจาก 2 สาเหตุหลักดังนี้

  1. รากฟันเทียมแตก ในกรณีที่เคี้ยวของแข็งมากๆ เป็นประจำ เช่น น้ำแข็ง ถั่วเปลือกแข็ง ใช้ฟันเปิดขวด แม้ว่ารากฟันเทียมเกือบทั้งหมดทำจากไทเทเนียมอัลลอยด์ โอกาสแตกต่ำมาก แต่ก็มีคนไข้บางรายที่เคี้ยวหนักจริงๆ จนรากฟันเทียมแตก
  2. รากฟันเทียมเป็นหนอง – รากฟันเทียมเป็นหนอง (Peri-implantitis) เป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ รากฟันเทียม ซึ่งมักเกิดจากการสะสมของคราบพลัคและแบคทีเรียที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม สามารถนำไปสู่การสูญเสียกระดูกและเนื้อเยื่อรอบๆ รากฟันเทียม คล้ายกับโรคปริทันต์ที่เกิดรอบๆ ฟันธรรมชาติแต่จะเกิดรอบรากฟันเทียม ทำให้เกิดการหลุดหรือการสูญเสียรากฟันเทียมในที่สุด การรักษาความสะอาดในช่องปากและการตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการเกิดรากฟันเทียมเป็นหนอง

 

บทความนี้ตรวจสอบโดย

ทพ. อดิศร หาญวรวงศ์

Adisorn Hanworawong

ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Master in Implant Dentistry (gIDE/UCLA CA. USA.)
วท.ม. สาขาวิทยาการแพทย์ (วิศวกรรมเนื้อเยื่อ)
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศนียบัตร อบรมหลักสูตรจัดฟัน Fellowship of Indian Academy of Orthodontics
Invisalign Cert., Invisalign provider

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เหล่านี้มีไว้เพื่อช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหา บริการ และการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับคุณ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะไม่มีการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกและจะถูกเก็บเป็นความลับ

บันทึกการตั้งค่า