รวมคำถามพบบ่อยเกี่ยวกับรากฟันเทียม

ปัจจุบันรากฟันเทียมได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเพราะช่วยให้คนไข้ที่สูญเสียฟันไปสามารถกลับมามีฟันที่แข็งแรง ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และใกล้เคียงกับฟันตามธรรมชาติที่สุด เราจึงรวบรวมคำถามที่พบได้บ่อยจากคนไข้มาตอบให้หายสงสัยกัน

รากฟันเทียมคืออะไร

รากฟันเทียม คือ อุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป ตัวรากฟันเทียมคือตัววัสดุที่ฝังลงไปในกระดูก มักทำจากไททาเนียมเพื่อรองรับครอบฟันหรือสะพานฟัน

รากฟันเทียมได้รับการยอมรับกันว่าเป็นฟันปลอมที่ดีที่สุด ดูคล้ายฟันจริงมากที่สุด ยึดติดแน่นไม่ต้องถอดออก ให้ความรู้สึกเหมือนฟันจริงมากที่สุด

รากฟันเทียมร่วมกับครอบฟันที่ด้านบน

เมื่อไหร่ที่ควรทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียมควรทำเมื่อมีการสูญเสียฟันไป หากสูญเสียฟันซี่เดียวก็สามารถทำรากฟันเทียมซี่เดียวได้ หากสูญเสียฟันหลายซี่ก็สามารถทำรากฟันเทียมร่วมกับสะพานฟันได้ หรือแม้แต่ในกรณีที่ไม่มีฟันเหลือเลย ก็สามารถทำรากฟันเทียมทั้งปากได้

เมื่อมีการสูญเสียฟันแล้วคนไข้ควรรีบใส่ฟันทดแทนเพราะการปล่อยไว้จะทำให้ฟันข้างเคียงเอียงเข้าหาช่องว่างเพราะไม่มีฟันข้างเคียงคอยพยุงไว้ นอกจากนั้นการสูญเสียฟันจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกเบ้าฟันซึ่งจะค่อยๆ ละลายตัวไปหากไม่มีฟันอยู่บริเวณนั้น

หลังเสียฟันไป ทำรากฟันเทียมเลยได้ไหม

หลังสูญเสียฟันไปจะทำรากฟันเทียมเลยได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับแต่ละเคส และปัจจัยที่แตกต่างกันดังในคลิป

ทำรากฟันเทียมเจ็บไหม

ขณะทำรากฟันเทียมจะไม่เจ็บเพราะมีฤทธิ์ยาชา แต่หลังจากยาชาหมดฤทธิ์คนไข้จะรู้สึกเจ็บมากน้อยขนาดไหนจะขึ้นอยู่กับลักษณะกระดูก ปริมาณกระดูก เนื้อเยื่อบริเวณที่รับการรักษา

หากปริมาณกระดูกพอเหมาะ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากฟันเทียมจะทำได้ง่ายขึ้นและเจ็บน้อยลง หากกระดูกไม่พอก็จะต้องทำการปลูกกระดูกก่อนซึ่งจะทำให้ต้องเข้ามาพบทันตแพทย์หลายรอบขึ้น

โดยทั่วไปแล้วการทำรากฟันเทียมเจ็บใกล้เคียงกับการถอนฟัน และรู้สึกเจ็บอยู่ประมาณ 7-10 วัน สามารถรับประทานยาแก้ปวดหรือประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดได้

 

ใครบ้างที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

คนที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียมคือ

  • คนที่มีการสูญเสียฟันไป ไม่ว่าจะซี่เดียวหรือหลายซี่
  • คนที่ไม่สามารถใช้ฟันเทียมแบบถอดได้
  • คนที่อายุเกิน 20 ปี เพื่อให้กระดูกขากรรไกรมีการเจริญเติบโตเต็มที่ก่อน
  • คนที่หากมีโรคประจำตัวจะต้องควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง
  • คนที่มีสุขภาพเหงือกและเนื้อเยื่อที่ดี ไม่มีภาวะที่ส่งผลต่อการหายของแผลในกระดูก
  • ผู้หญิงที่มีภาวะตั้งครรภ์จะทำรากฟันเทียมได้หลังจากคลอดเสร็จแล้ว

ทำรากฟันเทียมใช้เวลานานไหม

โดยทั่วไปแล้วรากฟันเทียมจะแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ

  1. การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมลงในกระดูก เป็นขั้นตอนที่ง่ายใช้เวลาทำประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ขึ้นกับความยากง่ายของเคส และจำนวนรากฟันเทียมที่ต้องใส่ เมื่อใส่แล้วจะต้องรอให้แผลหาย กระดูกผสานกับรากฟันเทียม ใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือน
  2. ทำครอบฟันใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์สำหรับครอบฟัน 1 ซี่ หากทำหลายซี่ก็จะใช้เวลาเพิ่มขึ้น

ตัวอย่างคลิปการทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียมอยู่ได้กี่ปี

อายุการใช้งานรากฟันเทียมจะอยู่ที่ประมาณ 10-20 ปีหรือมากกว่านั้น ความทนทานขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและสุขภาพช่องปาก หากดูแลไม่ดี มีโอกาสที่รากฟันเทียมจะอักเสบแล้วต้องกลับมาทำใหม่ได้

รากฟันเทียมดูแลรักษายังไง

การดูแลรักษารากฟันเทียมควรดูแลเหมือนกับฟันธรรมชาติ คือแปรงฟันด้วยแปรงขนนุ่มให้สะอาดวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 2 นาที ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก รวมถึงไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน หากตรวจพบความผิดปกติ จะได้เจอตั้งแต่เนิ่นๆ และแก้ไขได้ง่าย

ข้อจำกัดของรากฟันเทียมมีอะไรบ้าง

  • รากฟันเทียมควรทำในผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี เพื่อให้กระดูกขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่ก่อน การทำรากฟันเทียมบนกระดูกขากรรไกรที่ยังไม่เจริญเต็มที่ จะไปหยุดยั้งการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร
  • ผู้ที่จะเข้ารับการทำรากฟันเทียมหากมีโรคประจำตัว จะต้องแจ้งทันตแพทย์และควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติให้ได้ก่อน เช่น โรคเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ มิเช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการทำรากฟันเทียมแล้วล้มเหลว หากทานยาเป็นประจำและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ก็สามารถทำรากฟันเทียมได้ นอกจากนั้นหากรับประทานยาสลายลิ่มเลือดก็สามารถทำรากฟันเทียมได้ แต่ต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนเพื่อปรับปริมาณยาให้เหมาะสมก่อนผ่าตัด
  • ผู้ที่จะทำรากฟันเทียมจะต้องมีปริมาณและคุณภาพของกระดูกขากรรไกรที่ดี หากมีการละลายของกระดูกจากการถอนฟันทิ้งไว้เป็นเวลานาน ปริมาณของกระดูกและความหนาแน่นจะไม่พอ ต้องทำการปลูกกระดูกก่อนซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • การทำรากฟันเทียมไม่เหมาะสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จัด เพราะจะมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อหลังผ่าตัดหรือมีความเสี่ยงที่จะทำรากฟันเทียมแล้วล้มเหลวสูงเพราะรากเทียมไม่ยึดกับกระดูก

 

บทความนี้ตรวจสอบโดย

ทพ. อดิศร หาญวรวงศ์

Adisorn Hanworawong

ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Master in Implant Dentistry (gIDE/UCLA CA. USA.)
วท.ม. สาขาวิทยาการแพทย์ (วิศวกรรมเนื้อเยื่อ)
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศนียบัตร อบรมหลักสูตรจัดฟัน Fellowship of Indian Academy of Orthodontics
Invisalign Cert., Invisalign provider

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เหล่านี้มีไว้เพื่อช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหา บริการ และการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับคุณ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะไม่มีการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกและจะถูกเก็บเป็นความลับ

บันทึกการตั้งค่า