รากฟันเทียมมีกี่แบบ อะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง

รากฟันเทียม (Dental Implant) เป็นทางเลือกยอดนิยมในปัจจุบันสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น ฟันผุ อุบัติเหตุ หรือโรคปริทันต์ การทำรากฟันเทียมคือการปลูกถ่ายรากฟันเทียมที่ทำจากไทเทเนียม เข้าไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อทดแทนรากฟันธรรมชาติที่หายไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ทั้งการเคี้ยวอาหาร การพูด รวมถึงรักษารูปลักษณ์ความสวยงามของใบหน้า

อย่างไรก็ตาม รากฟันเทียมมีอยู่หลายประเภท แต่ละแบบมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพกระดูกขากรรไกร จำนวนและตำแหน่งของฟันที่หายไป ตลอดจนระยะเวลาที่ต้องใช้ในการรักษา การเลือกรากฟันเทียมแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย จะช่วยให้การรักษาด้วยรากฟันเทียม มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ผลลัพธ์สวยงามและใช้งานได้ดีในระยะยาว พร้อมป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจทำรากฟันเทียม ควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรากเทียม เพื่อตรวจประเมินสภาพช่องปากอย่างละเอียด และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย บทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทต่างๆของรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจเบื้องต้น และสามารถซักถามข้อสงสัยเพิ่มเติมกับทันตแพทย์ เพื่อวางแผนการทำรากฟันเทียมได้อย่างเหมาะสมที่สุด

แบ่งตามตำแหน่งของการทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียมแบ่งตามตำแหน่งการฝังในขากรรไกรได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

รากฟันเทียมชนิดฝังลงในกระดูก (Endosteal)

รากฟันเทียมชนิดฟังลงในกระดูก พบเห็นได้บ่อยที่สุด

รากฟันเทียมชนิดนี้เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยจะทำการฝังรากฟันเทียมที่ทำจากไทเทเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกรบนหรือล่าง รากเทียมจะทำหน้าที่เสมือนเป็นรากฟันจริง เมื่อกระดูกเชื่อมติดกับรากฟันเทียมแล้ว ทันตแพทย์จะทำการใส่หลักยึด (Abutment) และครอบฟันหรือสะพานฟันลงบนรากฟันเทียม เพื่อให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ฟันเพื่อรับประทานอาหารได้เหมือนเดิม วิธีนี้เหมาะกับคนไข้ที่มีกระดูกขากรรไกรเพียงพอในการรองรับรากฟันเทียม

รากฟันเทียมชนิดวางอยู่เหนือกระดูก (Subperiosteal)

รากฟันเทียมชนิดวางบนกระดูกขากรรไกร

รากฟันเทียมชนิดนี้จะถูกออกแบบเป็นโครงโลหะที่วางอยู่เหนือกระดูกขากรรไกรโดยอยู่ใต้เหงือก ไม่ได้ฝังลงในกระดูกโดยตรงเหมือนแบบ Endosteal ส่วนหลักยึดจะยื่นออกมาผ่านเหงือก เพื่อให้สามารถใส่ครอบฟันได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถทำการปลูกถ่ายกระดูกเพิ่มได้

แบ่งตามจำนวนรากฟันเทียมที่ใส่ในช่องปาก

เมื่อพิจารณาจากจำนวนรากฟันเทียมที่ใส่ในช่องปาก เราสามารถแบ่งการทำทันตกรรมรากเทียมออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งมีความแตกต่างดังนี้

ทันตกรรมรากฟันเทียม 1 ซี่

เป็นการทำรากฟันเทียมเพียง 1 ซี่ เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันไปซี่เดียวไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุฟันผุ อุบัติเหตุ หรือโรคปริทันต์ ใช้ระยะเวลาในการทำและการผ่าตัดที่สั้นกว่าการทำทันตกรรมรากฟันเทียมแบบอื่นๆหลังการทำ ผู้ป่วยสามารถใช้งานฟันซี่นั้นได้เหมือนฟันจริง ทั้งการบดเคี้ยวอาหารและการออกเสียงการดูแลรักษาสามารถทำได้โดยง่าย เพียงแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเช่นเดียวกับฟันธรรมชาติ

ทันตกรรมรากฟันเทียมหลายซี่

เป็นการทำรากฟันเทียมหลายซี่ เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันมากกว่า 1 ซี่ในหลายตำแหน่งสามารถทำครอบฟันบนรากเทียมได้ โดยไม่ต้องอาศัยการยึดติดกับฟันข้างเคียง จึงช่วยรักษาฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ได้

หากกรณีสูญเสียฟันติดกัน 3 ซี่ สามารถใช้รากเทียม 2 ตัวที่ซี่แรกและซี่สุดท้าย โดยซี่กลางจะเป็นสะพานฟันบนครอบรากเทียม ช่วยลดจำนวนรากเทียมที่ต้องใช้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดี

ทันตกรรมรากฟันเทียมทั้งปาก

รากฟันเทียมทั้งปาก all on 4

สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันทั้งปากไม่ว่าจะเป็นขากรรไกรบนหรือล่าง การทำรากฟันเทียมทั้งปากคือทางเลือกที่ดีที่สุดในการทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป นอกจากจะช่วยฟื้นฟูการใช้งานของฟันได้ดีเท่าเดิมแล้ว ยังช่วยชะลอการละลายของกระดูกขากรรไกร และรักษารูปลักษณ์ใบหน้าให้เป็นปกติอีกด้วย

จำนวนรากฟันเทียมที่ใช้ในการทำรากเทียมทั้งปาก ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระดูกขากรรไกร โดยทั่วไปมักใช้รากเทียม 4-8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ในกรณีที่กระดูกขากรรไกรมีความแข็งแรงดี จะสามารถใช้จำนวนรากเทียมที่น้อยลงได้ แต่หากกระดูกขากรรไกรไม่ค่อยแข็งแรง จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนรากเทียมให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความมั่นคงของการยึดฟัน

การทำรากฟันเทียมทั้งปากให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมทั้งในแง่ของการบดเคี้ยว ความแข็งแรง และความสวยงาม ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ จะสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับภาวะฟันปกติมากที่สุด

 

แบ่งตามระยะเวลาที่ใช้ในการทำรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียมสามารถแบ่งตามช่วงเวลาได้ 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับสภาพกระดูกขากรรไกรและแผนการรักษาของทันตแพทย์ ดังนี้

การฝังรากฟันเทียมแบบดั้งเดิม (Conventional Implant)

เป็นการรักษาแบบดั้งเดิมที่สุด มี 2 ขั้นตอน ใช้เวลาหลายเดือนในการรักษา เริ่มจากการถอนฟันออกก่อนแล้วรอประมาณ 3-6 เดือนให้กระดูกขากรรไกรหายดีก่อน แล้วจึงใส่รากฟันเทียมและรออีก 3-6 เดือนเพื่อให้กระดูกมายึดกับรากฟันเทียมที่ฝังลงไปให้หนาแน่น หลังจากนั้นจึงติดตั้งครอบฟันเป็นอย่างสุดท้าย

การฝังรากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟัน (Immediate Implant)

เป็นการฝังรากฟันเทียมลงทันทีหลังถอนฟันเสร็จ มีข้อดีคือลดระยะเวลาการรักษา และคนไข้เจ็บตัวแค่ครั้งเดียว แต่คนไข้ต้องมีกระดูกขากรรไกรที่สมบูรณ์ดี หลังจากฝังรากฟันเทียมแล้วก็จะใช้เวลาอีกประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้กระดูกเข้ามายึดรากฟันเทียมก่อน แล้วค่อยติดตั้งครอบฟัน

รากฟันเทียมในหนึ่งวัน (Immediate loaded Implant)

รากฟันเทียมใน 1 วัน คือการใส่รากฟันเทียม ร่วมกับการทำครอบฟันชั่วคราวหรือถาวรในวันเดียวกัน การจะทำแบบนี้ได้คนไข้ต้องมีกระดูกขากรรไกรที่แข็งแรงและมั่นคงเพียงพอที่จะรองรับครอบฟันได้ทันที

บทความนี้ตรวจสอบโดย

ทพ. อดิศร หาญวรวงศ์

Adisorn Hanworawong

ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Master in Implant Dentistry (gIDE/UCLA CA. USA.)
วท.ม. สาขาวิทยาการแพทย์ (วิศวกรรมเนื้อเยื่อ)
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศนียบัตร อบรมหลักสูตรจัดฟัน Fellowship of Indian Academy of Orthodontics
Invisalign Cert., Invisalign provider

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เหล่านี้มีไว้เพื่อช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหา บริการ และการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับคุณ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะไม่มีการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกและจะถูกเก็บเป็นความลับ

บันทึกการตั้งค่า